เมนู

[ว่าด้วยอคาวะ 6]


วินิจฉัยในคำว่า พุทฺเธ อคารโว เป็นอาทิ พึงทราบดังนี้:-
ผู้ใด เมื่อพระพุทธเจ้ายังทรงอยู่ไม่ไปสู่ที่บำรุง เมื่อพระพุทธเจ้า
ปรินิพพานแล้ว ไม่ไปสู่เจติยสถาน โพธิสถาน ไม่ไหว้เจดีย์หรือต้นโพธิ
กางร่มและสวมรองเท้าเที่ยวไปบนลานเจดีย์ พึงทราบว่า ผู้นั้น ไม่มีความ
เคารพในพระพุทธเจ้า.
ฝ่ายผู้ใด อาจอยู่แท้ แต่ไม่ไปสู่ที่ฟังธรรม ไม่สวดสรภัญญะไม่กล่าว
ธรรมกถา ทำลายโรงธรรมสวนะเสียแล้วไป มีจิตฟุ้งซ่านหรือไม่เอื้อเฟื้อนั่งอยู่
พึงทราบว่า ผู้นั้น ไม่มีความเคารพในพระธรรม.
ผู้ใด ไม่ประจงตั้งไว้ซึ่งความยำเกรง ในพระเถระ ภิกษุใหม่และ
ภิกษุผู้ปูนกลาง แสดงความคะนองกาย ในทีทั้งหลายโรงอุโบสถและโรงวิตก
เป็นต้น ไม่ไหว้ตามลำดับผู้แก่ พึงทราบว่า ผู้นั้น ไม่มีความเคารพใน
พระสงฆ์.
ฝ่ายผู้ใด ไม่สมาทานศึกษาไตรสิกขาเสียเลย พึงทราบว่า ผู้นั้น ไม่
มีความเคารพในสิกขา.
ฝ่ายผู้ใด ทั้งอยู่ในความประมาท คือในความอยู่ปราศจากสติเท่านั้น
ไม่พอกพูนลักษณะความไม่ประมาท พึงทราบว่า ผู้นั้นไม่มีความเคารพใน
ความไม่ประมาท
อนึ่ง ผู้ใด ไม่กระทำเสียเลย ซึ่งปฏิสันถาร 2 อย่างนี้ คือ อามิส-
ปฏิสันถาร ธรรมปฏิสันถาร พึงทราบว่า ผู้นั้น ไม่มีความเคารพในปฏิสันถาร.
เนื้อความในคาวรนิทเทส พึงทราบโดยบรรยายอันแผกจากที่กล่าวแล้ว.

[วิวาทมูลนิทเทส]


วินิจฉัยในวิวาทมูลนิทเทส พึงทราบดังนี้:-
เนื้อความแห่งข้อว่า สตฺถริปิ อคารโว เป็นอาทิ พึงทราบตามนัย
ที่กล่าวแล้ว ในความไม่มีความเคารพในพระพุทธเจ้าเป็นต้นนั่นแล.
บทว่า อปฺปฏิสฺโส ได้แก่ ไม่ประพฤติถ่อมตน คือ ไม่ยกพระ-
ศาสดาให้เป็นใหญ่อยู่.
บทว่า อชฺฌตฺตํ วา ความว่า (ถ้าว่า ท่านทั้งหลายพึงเล็งเห็น
มูลแห่งวิวาทเห็นปานนั้น) ในสันดานของตนก็ดี ในพวกของตนก็ดี ในบริษัท
ของตนก็ดี.
บทว่า พทิทฺธา วา ความว่า ในสันดานของผู้อื่นก็ดี ในพวกของ
ผู้อื่นก็ดี.
สองบทว่า ตตฺถ ตุมฺเห ความว่า ทั้งในสันดานของตนและผู้อื่น
หรือทั้งในบริษัทของตนและผู้อื่น อันต่างกันด้วยมีในภายในและมีในภายนอก
นั้น.
สองบทว่า ปหานาย วายเมยฺยาถ มีความว่า ท่านทั้งหลายพึง
พยายามเพื่อละมูลแห่งวิวาทอันลามกนั่นแล ด้วยนัยทั้งหลาย มีเมตตาภาวนา
เป็นอาทิ.
จริงอยู่ วิวาทมูลนั้น ทั้งที่มีในภายใน ทั้งที่มีในภายนอกย่อมละเสีย
ได้ ด้วยนัยมีเมตตาภาวนาเป็นต้น.
บทว่า อนวสฺสวาย ได้แก่ เพื่อความไม่เป็นไป.